สัปดาห์ก่อนโน้นได้เขียนติติงนโยบายเกษตรกรอินทรีย์ของรัฐบาล ด้วยห่วงใยในประเด็น การปลูกพืชอินทรีย์ที่พืชได้ธาตุอาหารหรือปุ๋ยไม่เพียงพอ จะส่งผลให้สินค้าอินทรีย์ที่ผลิตได้ มีคุณค่าทางโภชนาการที่ไม่ครบถ้วนตามที่พืชควรจะมี
กรมวิชาการเกษตรทำหนังสือชี้แจงในประเด็นนี้…นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ขอยืนยันบนพื้นฐานข้อมูลทางวิชาการ ในระยะเวลา 50 ปี มีผลการศึกษาเปรียบเทียบงานวิจัยการผลิตพืชตามระบบเกษตรอินทรีย์และระบบเกษตรทั่วไปจากทั่วโลกจำนวนทั้งสิ้น 52,471 เรื่อง พบว่าคุณค่าทางโภชนาการของผลผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์และระบบเกษตรทั่วไปขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตของทั้ง 2 ระบบ
หากให้ธาตุอาหารเพียงพอตามที่พืชต้องการในช่วงการเจริญเติบโต คุณค่าทางโภชนาการของพืชทั้ง 2 ระบบ จะไม่มี ความแตกต่างกัน
นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรได้จัดทำคู่มือคำแนะนำการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินกับพืชเศรษฐกิจ เพื่อให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อความต้องการของพืชแต่ละชนิด รวมทั้งยังวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสม ให้เกษตรกร มีวิธีการผลิตที่ถูกต้อง และได้ถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวสู่กลุ่มเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง ทั้งคำแนะนำการใช้ปุ๋ย วิธีการผลิตปุ๋ยหมักและปุ๋ยชีวภาพให้มีคุณภาพ รวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีด้วย
การปลูกพืชไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม หากต้องการให้ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า ผู้ผลิตต้องให้ธาตุอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการของพืช พืชจึงจะเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตที่เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ
กรมวิชาการเกษตรได้ให้คำแนะนำและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยแบบผสมผสานทั้งปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีในระบบเกษตรทั่วไปตามความเหมาะสมกับดินและพืชแต่ละชนิด
คลิก: http://www.beykozcamsanat.org/?p=337
ส่วนในระบบเกษตรอินทรีย์ตามมาตรฐานการผลิตห้ามใช้ปุ๋ยเคมี ดังนั้น เกษตรกรที่ต้องการจะผลิตในระบบนี้ จะต้องทำการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะมีวิธีการที่แตกต่างไปจากการทำการเกษตรในระบบอื่นๆ
คงพอจะสรุปได้ไหม ทำเกษตรแบบไหน ผู้บริโภคถึงจะได้สินค้าที่ มีคุณค่าครบถ้วนทางโภชนาการ
เครดิต: ไทยรัฐ